เปิดทำการ 08.30 น. - 16.30 น.

แผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (RD Facility Boost Up Platform)

แผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (RD Facility Boost Up Platform)

รายละเอียดแผนงาน 

แผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (RD Facility Boost Up Platform) เป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยี โดยการสนับสนุนภาคเอกชนมาใช้บริการห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และโรงงานต้นแบบที่ลงทะเบียนในฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (National Science and Technology Information System : NSTIS) ซึ่งให้บริการตรวจวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์และผลิตเพื่อทดสอบตลาด แผนงานนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ภูมิภาคเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความสามารถในการแข่งขันเชิงพื้นที่ รายละเอียดต่อไปนี้

1 สนับสนุนค่าวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ (Track 1)

1.1 สนับสนุนค่าวิเคราะห์ทดสอบร้อยละ 80 ของมูลค่าโครงการทั้งหมด เพื่อขอรับการมาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาด

1.2 ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสนับสนุนเงินทุน (In-cash) โดยคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย ร้อยละ 20

2. สนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบในโรงงานต้นแบบเพื่อทดสอบตลาด (Track 2) พร้อมตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ

1) สนับสนุนไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าโครงการทั้งหมด เพื่อขอรับการมาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาด

2) ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสนับสนุนเงินทุน (In-cash) โดยคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย ร้อยละ 20 โดยแบ่งเป็น in-cash ร้อยละ 10 และ in-kind ร้อยละ 10

คุณสมบัติผู้สมัคร

          1. เป็นนิติบุคคล หรือ เป็นบุคคลธรรมดา

  1. ผู้ประกอบการเป็นสมาชิก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
  2. มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) มีสูตรและทราบกระบวนการผลิตเป็นอย่างดี (Track 2)
  3. 4. มีเงินทุนพร้อมสนับสนุนโครงการ

ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม

1. ดำเนินการประชาสัมพันธ์เปิดรับผู้ประกอบการ กลุ่มเป้าหมายในรูปแบบออฟไลน์ และรูปแบบออนไลน์ เช่นการประชุมหน่วยจัดการงานวิจัย เว็บไซต์ social media ต่างๆ

2. ดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพในการดำเนินการทางธุรกิจ โดยคณะกรรมการจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับกรรมการจากเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการ

3. ดําเนินการส่งผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ ทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ (Track 1) และการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบในโรงงานต้นแบบเพื่อทดสอบตลาด (Track 2) พร้อมตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ

4.การตรวจติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการ การตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ และผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับทดสอบตลาด

ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน 

ชื่อ-สกุล : นางวรรณิศา  ทิพย์ปัญญาไชย

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เบอร์โทร : 087-8394786

นางวรรณิศา  ทิพย์ปัญญาไชย

  • Hits: 602

แผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ  (Industrial Research and Development Capability Building Platform)

แผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ  (Industrial Research and Development Capability Building Platform)

รายละเอียดแผนงาน 

          ส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อยกระดับความสามารถในการทำวิจัยของผู้ประกอบการโดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้าน Technology/Innovation Management ในการจัดตั้งหรือพัฒนาปรับปรุงหน่วยวิจัย และพัฒนา (R&D Unit)  ในสถานประกอบการ ตลอดจนพัฒนาให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นสามารถนำภูมิปัญญามาผสมผสานกับเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ อันเป็นการกระตุ้นการลงทุนด้วนการวิจัยและพัฒนาในอนาคตต่อไป

คุณสมบัติผู้สมัคร 

          1. เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

          2. มีบุคลากรที่พร้อมทำงานด้าน R&D 

          3. มีความต้องการพัฒนากระบวนการด้าน R&D

          4. พร้อมลงทุนด้าน R&D

          5. ผู้ประกอบการจะต้องมีศักยภาพและความพร้อมในการเข้าร่วมการ coaching ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนด

          6. ผู้ประกอบการจะต้องมีศักยภาพและพร้อมในการจัดทำ R&D Blueprint เพื่อจัดตั้งหรือปรับปรุงพัฒนาหน่วยวิจัยและพัฒนา (R&D Unit) ภายใน 5 ปี

ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม

          1. การประชาสัมพันธ์ รับสมัคร และคัดเลือกผู้ประกอบการ

          2. การลงพื้นที่และดำเนินการ Coaching ผู้ประกอบการ

          3. การจัดทำ R&D Blueprint ของผู้ประกอบการ

          4. การติดตามและประเมินผล ในระดับการ coaching ผู้ประกอบการ

ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน 

ชื่อ-สกุล นายชินวัตร  เจริญอินทร์

E-mail  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เบอร์โทร 065-4919354

นายชินวัตร  เจริญอินทร์

  • Hits: 609

แผนงานการยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม (Technology to Industry Convergence)

แผนงานการยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม (Technology to Industry Convergence)

รายละเอียดแผนงาน 

แผนงานการยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม (Technology to Industry Convergence) เป็นแผนงานที่พร้อมจะสนับสนุนการใช้ประโยชน์งานวิจัย เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ ที่ยังไม่เคยได้รับการสนับสนุนหรือออกสู่เชิงพาณิชย์มาก่อน ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนางานวิจัยสู่ระดับที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง การพิสูจน์เทคโนโลยี (proof of concept) การวางแผนและวิเคราะห์แนวทางในการต่อยอดทางธุรกิจ (Industry Convergence) รวมถึงการมองหาภาคเอกชนที่จะมาใช้ประโยชน์งานวิจัยในอนาคต ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับภาคเอกชนที่จะมีงานวิจัยและเทคโนโลยีให้เลือกและสามารถนำไปต่อยอดได้มากขึ้น และเกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ภาครัฐได้ลงทุนไปแล้ว

คุณสมบัติผู้สมัคร 

1 คุณลักษณะของโครงการ

  • เป็นโครงการวิจัยที่ไม่เคยได้รับทุนสนับสนุนเพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์มาก่อน เช่น TED fund เป็นต้น
  • มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
    • เป็นงานวิจัยที่เคยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับ TCI 1
    • เป็นงานวิจัยในระดับ TRL 1-3 (ในกรณีนี้ ต้องพัฒนางานวิจัยไปสู่ระดับ TRL 4-6 เมื่อจบโครงการ โดยต้องมีการก้าวกระโดดอย่างน้อย 2 ขั้น TRL)

 

TRL

 

 

ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม

  • ส่งข้อเสนอโครงการตามแผนงานของผู้เชี่ยวชาญ (อาจารย์/นักวิจัย) มายังอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการ
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จะดำเนินการลงนามในสัญญารับทุนอุดหนุนการทำวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ
  • ดำเนินการวิจัย โดยประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญดังนี้
    1. ดำเนินการวิจัยและพัฒนาต่อยอดบน scale ที่ใหญ่ขึ้น (Up-scale R&D)
    2. กิจกรรมพิสูจน์เทคโนโลยี (Proof of concept)
    3. การวางแผนธุรกิจในเบื้องต้นและหาคู่ค้าที่มีโอกาสร่วมมือทางธุรกิจ
    4. จัดทำรายงาน Industry Convergence
  • ติดตามและประเมินผลโครงการ

ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน 

ชื่อ-สกุล นายภูมิสิษฐ์ กมลงาม

E-mail This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เบอร์โทร  085-4029011

นายภูมิสิษฐ์ กมลงาม

  • Hits: 649

แผนงานการส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก (Regional to Global Platform : R2G)

แผนงานการส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก (Regional to Global Platform : R2G)

รายละเอียดแผนงาน 

โครงการที่จะเชื่อมโยงผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคสู่ลูกค้าในระดับโลก ผ่านการส่งเสริม ยกระดับศักยภาพด้านการตลาด เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยเครือข่ายความร่วมมือของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและเครือข่ายด้านการตลาดในระดับโลก จะช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อให้ได้เข้าสู่ตลาดและคู่ค้าที่เหมาะสม รวมถึงการช่วยเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นและเกี่ยวข้องในการเจรจาทางธุรกิจ

คุณสมบัติผู้สมัคร 

1. เป็นนิติบุคคล
2. มีรายได้จากการทำธุรกิจในระดับภูมิภาคมาแล้ว หรือผ่านกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ วทน. (TBI, UBI) หรือผ่านการเข้าร่วมโครงการนักธุรกิจเทคโนโลยีรุ่นใหม่ : New Gen Technopreneur ในส่วนแผนงานเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการ (T3: Acceleration platform) หรือผ่านการเข้าร่วมโครงการอื่น ๆ ที่มีศักยภาพของอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
3. มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ชัดเจน พร้อมต่อการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ
4. มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน มีการตั้งเป้ายอดขายที่ต้องการ ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถในการผลิต
5. มีความต้องการ/มีแผนในการขยายตลาดไปต่างประเทศ
6. มีทีมที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ในด้านเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์
7. สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศเบื้องต้น (อังกฤษ, จีน)

ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม

  1. ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถมากรอกใบสมัครได้ด้วยตนเอง ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  2. ทางอุทยานปิดรับสมัคร และประกาศรายชื่อผู้ประกอบการ
  3. ผู้ประกอบการที่ลงสมัครเข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ ด้าน Financial Support for Export และ International Branding & Marketing
  4. ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ลงแข่งขัน Pitching ระดับภูมิภาค เพื่อเข้ารอบคัดเลือกการแข่งขันระดับประเทศ
  5. ผู้ประกอบการที่ลงสมัครเข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ (กรณีผ่านการคัดเลือด)
  6. ผู้ประกอบการเข้าแข่งขัน Pitching ระดับประเทศ (กรณีผ่านการคัดเลือด)
  7. กรณีผ่านการคัดเลือกระดับประเทศ เดินทางไปแสดงสินค้าที่ประเทศฮองกง (กรณีผ่านการคัดเลือด)

ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน 

ชื่อ-สกุล นางศิโรรัตน์  เย็นธะทา

E-mail This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.         เบอร์โทร  087-2061893

นางศิโรรัตน์  เย็นธะทา

  • Hits: 607

แผนงานยกระดับธุรกิจภูมิภาค  (Regional Entrepreneur Upgrade Platform)

แผนงานยกระดับธุรกิจภูมิภาค  (Regional Entrepreneur Upgrade Platform)

รายละเอียดแผนงาน 

          สนับสนุนการยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีในภูมิภาค ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และงานวิจัย ผ่านกระบวนการยกระดับที่หลากหลายให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง 

โดยผู้เข้าร่วมแผนงานจะได้รับประโยชน์ดังนี้

  • คำแนะนำและการติดตามผลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  • เกิดการแก้ไขปัญหาหรือความต้องการที่ผู้ประกอบต้องการแก้ไขด้านต่างๆ ได้อย่างตรงจุด
  • เกิดการพัฒนาศักยภาพ พัฒนาขีดความสามารถทักษะในด้านต่างๆ ภายในองค์ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

คุณสมบัติผู้สมัคร 

  1. เป็นผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs หรือ Startup และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือ
  2. ผู้ประกอบมีแผนการต่อยอดและนำทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในสถานประกอบการหลังเข้าร่วมโครงการ

ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม

  1. ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถมากรอกใบสมัครได้ด้วยตนเอง ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  2. ทางอุทยานปิดรับสมัคร และประกาศรายชื่อผู้ประกอบการประมาณเดือน พฤษภาคม ของทุกปี
  3. ผู้ที่ได้รับคัดเลือก ได้รับการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ที่ต้องการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ ที่ผู้ประกอบการต้องการ
  4. ประเมินการดำเนินงานหลังจบกิจกรรม สรุปผลการดำเนิน

ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน 

ชื่อ-สกุล นายชินวัตร  เจริญอินทร์

E-mail  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เบอร์โทร 065-4919354

นายชินวัตร  เจริญอินทร์

  • Hits: 448

Page 2 of 3

Social media