เปิดทำการ 08.30 น. - 16.30 น.

บริการห้องปฏิบัติการแก่ภาคอุตสาหกรรม (laboratory)

บริการห้องปฏิบัติการแก่ภาคอุตสาหกรรม (laboratory)

รายละเอียดแผนงาน

การให้บริการห้องปฏิบัติการ เพื่อการสนับสนุนการทำงานวิจัยและพัฒนาสำหรับภาคอุตสาหกรรม ในการให้บริการห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจระดับอุตสาหกรรม SMEs และ OTOP มีความพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน โดยมีบริการหลัก ได้แก่ 1) การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งในสภาวะสุญญากาศ (freeze dryer) 2) การหาค่าสาร Anti-oxidant 3) บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์

 

คุณสมบัติผู้ที่สามารถเข้าร่วมแผนงาน

กลุ่มธุรกิจระดับอุตสาหกรรม SMEs  OTOP อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา

 

ขั้นตอนการให้บริการ

ผู้ขอใช้บริการ กรอกรายละเอียดในใบขอรับบริการมรอ.from 11 แบบฟอร์มขอใช้บริการ ให้ครบถ้วน ระบุวัตถุประสงค์ที่ต้องการขอใช้บริการ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและตัวอย่าง และเจ้าหน้าดำเนินการวิเคราะห์ตัวอย่าง หรือส่งตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ทดสอบกับหน่วยงานภายนอก

 

ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน

ชื่อ-สกุล : นางวรรณิศา  ทิพย์ปัญญาไชย

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เบอร์โทร : 087-8394786

นางวรรณิศา  ทิพย์ปัญญาไชย

  • Hits: 491

บริการฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T Database)

บริการฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T Database)

รายละเอียดแผนงาน

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Information System : NSTIS) ซึ่งเป็นการยกระดับจากฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Infrastructure Data Bank : STDB) เพื่อให้บริการข้อมูลนักวิจัย ข้อมูลผลงานวิจัย เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ และโรงงานต้นแบบ แก่ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมแบบ One stop service อันเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการใช้โครงสร้างการร่วมใช้บริการรวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษา อาจารย์ ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน

ชื่อ-สกุล : นางสาววัชราภรณ์ ปานบ้านใหม่

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เบอร์โทร : 080-6869929

ลิงค์ เว็ปไซต์ https://nstis.mhesi.go.th/

NSTIS logo

นางสาววัชราภรณ์ ปานบ้านใหม่

  • Hits: 460

บริการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาแก่ภาคอุตสาหกรรม (IP for Industry)

บริการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาแก่ภาคอุตสาหกรรม (IP for Industry)

รายละเอียดแผนงาน 

          ให้บริการให้คําปรึกษางานด้านทรัพย์สินทางปัญญา สําหรับการจดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมกับงาน ให้คําแนะนําในการจัดเตรียมเอกสารหรือข้อมูลเพื่อจดขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา มีการส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา (IP creation) การจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสํารวจแนวโน้มเทคโนโลยี การส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

ขั้นตอนการขอรับบริการ

flow

ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน 

ชื่อ-สกุล นายภูมิสิษฐ์ กมลงาม

E-mail This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เบอร์โทร  085-4029011

นายภูมิสิษฐ์ กมลงาม

  • Hits: 467

บริการออกแบบนวัตกรรม (Innovation Design)

บริการออกแบบนวัตกรรม (Innovation Design)

รายละเอียดแผนงาน 

                       ศูนย์ออกแบบนวัตกรรมให้บริการ ในการออกแบบตราสัญลักษณ์ สติ๊กเกอร์ บรรจุภัณฑ์ (Packaging design) และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product design) ตลอดจนเครื่องหมายทางการค้า และการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งภาคเอกชนที่มีความสนใจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ส่งผลดีต่อสินค้าหรือธุรกิจ  ช่วยสร้างการจดจำและเพิ่มยอดขายมากขึ้น เพิ่มโอกาสการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งผลจากการให้บริการของศูนย์ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์นั้นส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนารูปลักษณ์ให้มีความโดดเด่นดึงดูดใจผู้บริโภค อันจะส่งผลในด้านบวกต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง โดยศูนย์ออกแบบนวัตกรรมของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ไม่ได้หยุดอยู่แค่ออกแบบพัฒนา“ประโยชน์ใช้สอย” หรือ “รูปลักษณ์” ของผลิตภัณฑ์เท่านั้นยังสร้างความพึงพอใจจาก “การบริการ” ที่จะเชื่อมโยงตอบโจทย์กับทุกความต้องการของผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี ให้บริการด้านการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการผลิตชิ้นงาน และติดตาม                      

คุณสมบัติผู้สมัคร 

นักศึกษา อาจารย์ ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม

  1. ผู้ขอใช้บริการภาครัฐและภาคเอกชน ติดต่อขอรับบริการผ่านเจ้าหน้าที่สำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม
  2. กรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการผ่านทางสำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม
  3. เจ้าหน้าที่สำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม ประสานงานสอบถามความต้องการ รับโจทย์ปัญหา และให้คำปรึกษาเบื้องต้น
  4. ส่งต่อความต้องการขอใช้บริการ แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ออกแบบนวัตกรรม
  5. เจ้าหน้าที่ศูนย์ออกแบบนวัตกรรมให้คำปรึกษา/รับความต้องการจากผู้รับบริการ
  6. การดําเนินการออกแบบตามความต้องการของผู้ประกอบการ
  7. การนําเสนอแบบที่ได้รับการออกแบบ/พัฒนา และปรับแก้ไขตาม ความต้องการ
  8. ส่งมอบผลงานการออกแบบ หรือบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ
  9. ติดตามและประเมินผลการนําไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจ

ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน 

ชื่อ-สกุล นายธีระ หล่อหลอม

E-mail This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เบอร์โทร 084-1706854

นายธีระ หล่อหลอม

  • Hits: 940

สำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม  (Office of Industrial Liaison)

สำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม  (Office of Industrial Liaison)

รายละเอียดแผนงาน 

สำนักความร่วมมืออุตสาหกรรม เป็นการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการ ทางด้านการพัฒนาศักยภาพ พัฒนาขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม มีการสนับสนุนองค์ความรู้ โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระ ห้องปฏิบัติการทำแห้งแบบเยือกแข็งแบบสุญญากาศ ห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และห้องออกแบบนวัตกรรม ซึ่งมีเครื่องพิมพ์วัตถุสามมิติ เครื่องตัดด้วยลำแสงเลเซอร์ เครื่องตัดสติ๊กเกอร์ เครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์ เต็นท์ถ่ายสินค้า ชุดสตูดิโอถ่ายภาพแบบธุรกิจ เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการทำงานวิจัยและพัฒนารองรับทุกความต้องการของการประกอบธุรกิจ พร้อมทั้งมีหน้าที่หลักในการสร้างความตระหนักในการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม  ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงประชาสัมพันธ์การให้บริการในด้านต่างๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ การให้คำปรึกษารับโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมส่งเสริมและส่งต่อโจทย์ความต้องการไปใช้บริการหรือเข้าร่วมโครงการอื่นๆ ได้แก่ การบริการห้องปฏิบัติการ การบริการออกแบบนวัตกรรม การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การบริการฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้าน ว และ ท บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจวินิจฉัยปัญหาเบื้องต้นทางเทคนิคและแนวทางการพัฒนาธุรกิจ การจัดหาผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคที่เหมาะสมกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การบริการจัดอบรมสัมมนาองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีที่น่าสนใจ การเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถทางการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ และการเข้าร่วมโครงการวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการเชื่อมโยง ประสานความร่วมมือหรือบูรณาการทำงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเป็นการสร้างฐานผู้ใช้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ในอนาคต

คุณสมบัติผู้สมัคร 

  1. ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือฯ
  2. ผู้ประกอบการ OTOP SMEs SML

ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม

  1. กรอกใบสมัครเข้ารับบริการ
  2. แจ้งปัญหาที่ต้องการให้ช่วยเหลือ
  3. เจ้าหน้าที่รับโจทย์ความต้องการ
  4. ให้คำปรึกษาเบื้องต้น
  5. เจ้าหน้าที่รับโจทย์ความต้องการ
  6. อาจารย์ให้คำปรึกษาเบื้องต้น

ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน 

ชื่อ-สกุล  นางสาวชนันญา ดีเก

E-mail   This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.          เบอร์โทร 063-6485263

นางสาวชนันญา ดีเก

  • Hits: 474

Page 3 of 3

Social media