แผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (RD Facility Boost Up Platform)
แผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (RD Facility Boost Up Platform)
รายละเอียดแผนงาน
แผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (RD Facility Boost Up Platform) เป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยี โดยการสนับสนุนภาคเอกชนมาใช้บริการห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และโรงงานต้นแบบที่ลงทะเบียนในฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (National Science and Technology Information System : NSTIS) ซึ่งให้บริการตรวจวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์และผลิตเพื่อทดสอบตลาด แผนงานนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ภูมิภาคเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความสามารถในการแข่งขันเชิงพื้นที่ รายละเอียดต่อไปนี้
1 สนับสนุนค่าวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ (Track 1)
1.1 สนับสนุนค่าวิเคราะห์ทดสอบร้อยละ 80 ของมูลค่าโครงการทั้งหมด เพื่อขอรับการมาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาด
1.2 ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสนับสนุนเงินทุน (In-cash) โดยคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย ร้อยละ 20
2. สนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบในโรงงานต้นแบบเพื่อทดสอบตลาด (Track 2) พร้อมตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ
1) สนับสนุนไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าโครงการทั้งหมด เพื่อขอรับการมาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาด
2) ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสนับสนุนเงินทุน (In-cash) โดยคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย ร้อยละ 20 โดยแบ่งเป็น in-cash ร้อยละ 10 และ in-kind ร้อยละ 10
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. เป็นนิติบุคคล หรือ เป็นบุคคลธรรมดา
- ผู้ประกอบการเป็นสมาชิก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
- มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) มีสูตรและทราบกระบวนการผลิตเป็นอย่างดี (Track 2)
- 4. มีเงินทุนพร้อมสนับสนุนโครงการ
ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม
1. ดำเนินการประชาสัมพันธ์เปิดรับผู้ประกอบการ กลุ่มเป้าหมายในรูปแบบออฟไลน์ และรูปแบบออนไลน์ เช่นการประชุมหน่วยจัดการงานวิจัย เว็บไซต์ social media ต่างๆ
2. ดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพในการดำเนินการทางธุรกิจ โดยคณะกรรมการจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับกรรมการจากเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการ
3. ดําเนินการส่งผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ ทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ (Track 1) และการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบในโรงงานต้นแบบเพื่อทดสอบตลาด (Track 2) พร้อมตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ ในห้องปฏิบัติการ
4.การตรวจติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการ การตรวจ วิเคราะห์ ทดสอบ และผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับทดสอบตลาด
ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน
ชื่อ-สกุล : นางวรรณิศา ทิพย์ปัญญาไชย
E-mail :
เบอร์โทร : 087-8394786
- Hits: 597
แผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ (Industrial Research and Development Capability Building Platform)
แผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ (Industrial Research and Development Capability Building Platform)
รายละเอียดแผนงาน
ส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อยกระดับความสามารถในการทำวิจัยของผู้ประกอบการโดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้าน Technology/Innovation Management ในการจัดตั้งหรือพัฒนาปรับปรุงหน่วยวิจัย และพัฒนา (R&D Unit) ในสถานประกอบการ ตลอดจนพัฒนาให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นสามารถนำภูมิปัญญามาผสมผสานกับเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ อันเป็นการกระตุ้นการลงทุนด้วนการวิจัยและพัฒนาในอนาคตต่อไป
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
2. มีบุคลากรที่พร้อมทำงานด้าน R&D
3. มีความต้องการพัฒนากระบวนการด้าน R&D
4. พร้อมลงทุนด้าน R&D
5. ผู้ประกอบการจะต้องมีศักยภาพและความพร้อมในการเข้าร่วมการ coaching ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
6. ผู้ประกอบการจะต้องมีศักยภาพและพร้อมในการจัดทำ R&D Blueprint เพื่อจัดตั้งหรือปรับปรุงพัฒนาหน่วยวิจัยและพัฒนา (R&D Unit) ภายใน 5 ปี
ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม
1. การประชาสัมพันธ์ รับสมัคร และคัดเลือกผู้ประกอบการ
2. การลงพื้นที่และดำเนินการ Coaching ผู้ประกอบการ
3. การจัดทำ R&D Blueprint ของผู้ประกอบการ
4. การติดตามและประเมินผล ในระดับการ coaching ผู้ประกอบการ
ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน
ชื่อ-สกุล นายชินวัตร เจริญอินทร์
E-mail
เบอร์โทร 065-4919354
- Hits: 597
แผนงานการยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม (Technology to Industry Convergence)
แผนงานการยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม (Technology to Industry Convergence)
รายละเอียดแผนงาน
แผนงานการยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม (Technology to Industry Convergence) เป็นแผนงานที่พร้อมจะสนับสนุนการใช้ประโยชน์งานวิจัย เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ ที่ยังไม่เคยได้รับการสนับสนุนหรือออกสู่เชิงพาณิชย์มาก่อน ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนางานวิจัยสู่ระดับที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง การพิสูจน์เทคโนโลยี (proof of concept) การวางแผนและวิเคราะห์แนวทางในการต่อยอดทางธุรกิจ (Industry Convergence) รวมถึงการมองหาภาคเอกชนที่จะมาใช้ประโยชน์งานวิจัยในอนาคต ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับภาคเอกชนที่จะมีงานวิจัยและเทคโนโลยีให้เลือกและสามารถนำไปต่อยอดได้มากขึ้น และเกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ภาครัฐได้ลงทุนไปแล้ว
คุณสมบัติผู้สมัคร
1 คุณลักษณะของโครงการ
- เป็นโครงการวิจัยที่ไม่เคยได้รับทุนสนับสนุนเพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์มาก่อน เช่น TED fund เป็นต้น
- มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
- เป็นงานวิจัยที่เคยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับ TCI 1
- เป็นงานวิจัยในระดับ TRL 1-3 (ในกรณีนี้ ต้องพัฒนางานวิจัยไปสู่ระดับ TRL 4-6 เมื่อจบโครงการ โดยต้องมีการก้าวกระโดดอย่างน้อย 2 ขั้น TRL)
ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม
- ส่งข้อเสนอโครงการตามแผนงานของผู้เชี่ยวชาญ (อาจารย์/นักวิจัย) มายังอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
- คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการ
- อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จะดำเนินการลงนามในสัญญารับทุนอุดหนุนการทำวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ
- ดำเนินการวิจัย โดยประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญดังนี้
- ดำเนินการวิจัยและพัฒนาต่อยอดบน scale ที่ใหญ่ขึ้น (Up-scale R&D)
- กิจกรรมพิสูจน์เทคโนโลยี (Proof of concept)
- การวางแผนธุรกิจในเบื้องต้นและหาคู่ค้าที่มีโอกาสร่วมมือทางธุรกิจ
- จัดทำรายงาน Industry Convergence
- ติดตามและประเมินผลโครงการ
ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน
ชื่อ-สกุล นายภูมิสิษฐ์ กมลงาม
E-mail
เบอร์โทร 085-4029011
- Hits: 623
แผนงานการส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก (Regional to Global Platform : R2G)
แผนงานการส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก (Regional to Global Platform : R2G)
รายละเอียดแผนงาน
โครงการที่จะเชื่อมโยงผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคสู่ลูกค้าในระดับโลก ผ่านการส่งเสริม ยกระดับศักยภาพด้านการตลาด เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยเครือข่ายความร่วมมือของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและเครือข่ายด้านการตลาดในระดับโลก จะช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อให้ได้เข้าสู่ตลาดและคู่ค้าที่เหมาะสม รวมถึงการช่วยเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นและเกี่ยวข้องในการเจรจาทางธุรกิจ
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. เป็นนิติบุคคล
2. มีรายได้จากการทำธุรกิจในระดับภูมิภาคมาแล้ว หรือผ่านกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ วทน. (TBI, UBI) หรือผ่านการเข้าร่วมโครงการนักธุรกิจเทคโนโลยีรุ่นใหม่ : New Gen Technopreneur ในส่วนแผนงานเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการ (T3: Acceleration platform) หรือผ่านการเข้าร่วมโครงการอื่น ๆ ที่มีศักยภาพของอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
3. มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ชัดเจน พร้อมต่อการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ
4. มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน มีการตั้งเป้ายอดขายที่ต้องการ ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถในการผลิต
5. มีความต้องการ/มีแผนในการขยายตลาดไปต่างประเทศ
6. มีทีมที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ในด้านเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์
7. สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศเบื้องต้น (อังกฤษ, จีน)
ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม
- ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถมากรอกใบสมัครได้ด้วยตนเอง ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
- ทางอุทยานปิดรับสมัคร และประกาศรายชื่อผู้ประกอบการ
- ผู้ประกอบการที่ลงสมัครเข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ ด้าน Financial Support for Export และ International Branding & Marketing
- ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ลงแข่งขัน Pitching ระดับภูมิภาค เพื่อเข้ารอบคัดเลือกการแข่งขันระดับประเทศ
- ผู้ประกอบการที่ลงสมัครเข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ (กรณีผ่านการคัดเลือด)
- ผู้ประกอบการเข้าแข่งขัน Pitching ระดับประเทศ (กรณีผ่านการคัดเลือด)
- กรณีผ่านการคัดเลือกระดับประเทศ เดินทางไปแสดงสินค้าที่ประเทศฮองกง (กรณีผ่านการคัดเลือด)
ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน
ชื่อ-สกุล นางศิโรรัตน์ เย็นธะทา
E-mail
- Hits: 602
แผนงานยกระดับธุรกิจภูมิภาค (Regional Entrepreneur Upgrade Platform)
แผนงานยกระดับธุรกิจภูมิภาค (Regional Entrepreneur Upgrade Platform)
รายละเอียดแผนงาน
สนับสนุนการยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีในภูมิภาค ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และงานวิจัย ผ่านกระบวนการยกระดับที่หลากหลายให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
โดยผู้เข้าร่วมแผนงานจะได้รับประโยชน์ดังนี้
- คำแนะนำและการติดตามผลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- เกิดการแก้ไขปัญหาหรือความต้องการที่ผู้ประกอบต้องการแก้ไขด้านต่างๆ ได้อย่างตรงจุด
- เกิดการพัฒนาศักยภาพ พัฒนาขีดความสามารถทักษะในด้านต่างๆ ภายในองค์ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
คุณสมบัติผู้สมัคร
- เป็นผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs หรือ Startup และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือ
- ผู้ประกอบมีแผนการต่อยอดและนำทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในสถานประกอบการหลังเข้าร่วมโครงการ
ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม
- ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถมากรอกใบสมัครได้ด้วยตนเอง ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
- ทางอุทยานปิดรับสมัคร และประกาศรายชื่อผู้ประกอบการประมาณเดือน พฤษภาคม ของทุกปี
- ผู้ที่ได้รับคัดเลือก ได้รับการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ที่ต้องการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ ที่ผู้ประกอบการต้องการ
- ประเมินการดำเนินงานหลังจบกิจกรรม สรุปผลการดำเนิน
ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน
ชื่อ-สกุล นายชินวัตร เจริญอินทร์
E-mail
เบอร์โทร 065-4919354
- Hits: 445
More Articles …
- โครงการวิจัยร่วมกับภาคเอกชน (Collaborative Research Program : Co-Research)
- แผนงานพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ (Industrial Research and Technology Capacity Development Program : IRTC)
- แผนงานบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Science, Technology and Innovation Business Incubation Program)
- พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับทำกิจกรรม (Co-working Space)
Page 2 of 3