โครงการ Smart Startup Idea by GSB Startup
โครงการ Smart Startup Idea by GSB Startup
รายละเอียดแผนงาน
กิจกรรมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าหรือบริการภายใต้หัวข้อที่ธนาคารกำหนดแล้วส่งเข้าประกวดเพื่อรับทุนการศึกษาและต่อยอดสู่การพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการได้จริง
คุณสมบัติผู้สมัคร
- นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก หรือนักศึกษาที่จบการศึกษามาแล้วไม่เกิน 5 ปี ทีมละ 3-5 คน ไม่จำกัดคณะและสาขาวิชา
- มี Idea การทำธุรกิจด้าน BCG Economy
ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม
- ยื่นใบสมัครเข้าร่วมโครงการรับการสัมภาษณ์ข้อมูลเบื้องต้น
- จัดทำ Clip Video ความยาวไม่เกิน 3 นาที
- จัดส่งรายละเอียดผลงาน (Project Proposal) ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 โดยจะต้องระบุรายละเอียดผลงานเบื้องต้น และ Business Model Canvas
- คณะกรรมการตัดสินผลงานระดับมหาวิทยาลัยจะพิจารณาคัดเลือกผลงานระดับมหาวิทยาลัยจาก Clip Video และ Project Proposal ที่นิสิต นักศึกษา นำเสนอ ให้เหลือจำนวน 3 ผลงาน
- เข้าร่วมการประกวดผลงานระดับประเทศเพื่อรับทุนสนับสนุนในการต่อยอดการดำเนินธุรกิจ
ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน
ชื่อ-สกุล #นางบุปผา พึ่งพา
E-mail
เบอร์โทร 089-0068768
- Hits: 530
โครงการ Smart Startup Company by GSB Startup
โครงการ Smart Startup Company by GSB Startup
รายละเอียดแผนงาน
กิจกรรมจัดตั้ง Smart Startup Company by GSB Startup เป็นกิจกรรมที่ให้ทุนสนับสนุนสำหรับนักศึกษา ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจ หรือมี Prototype ที่พร้อมจะดำเนินธุรกิจ
คุณสมบัติผู้สมัคร
- นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก หรือนักศึกษาที่จบการศึกษามาแล้วไม่เกิน 5 ปี ทีมละ 3-5 คน ไม่จำกัดคณะและสาขาวิชา
- มี Idea การทำธุรกิจด้าน BCG Economy
ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม
- ยื่นใบสมัครเข้าร่วมโครงการรับการสัมภาษณ์ข้อมูลเบื้องต้น
- จัดทำ Clip Video ความยาวไม่เกิน 3 นาที
- จัดส่งรายละเอียดผลงาน (Project Proposal) ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 โดยจะต้องระบุรายละเอียดผลงานเบื้องต้น และ Business Model Canvas
- คณะกรรมการจากธนาคารออมสินพิจารณาคัดเลือกผลงานเพื่อรับทุนสนับสนุนในการต่อยอดการดำเนินธุรกิจ
ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน
ชื่อ-สกุล นางบุปผา พึ่งพา
E-mail
เบอร์โทร 089-0068768
- Hits: 540
โครงการ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
โครงการ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
รายละเอียดแผนงาน
โครงการ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ดำเนินงานร่วมกับธนาคารออมสิน ในการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มผู้ประกอบการโฮมสเตย์ กลุ่มท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือกลุ่มอาชีพต่างๆ ในพื้นที่ธนาคารออมสินภาค 7 โดยการนำองค์ความรู้และแนวคิดใน การจัดการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพ มาช่วยในการเสริมสร้างทำให้ภูมิปัญญาให้เกิดการพัฒนาส่งผลดีต่อความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจฐานราก ช่วยเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาด โดยการร่วมเรียนร่วมรู้ และร่วมทำ ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน รวมถึงการเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาได้ตระหนักและ เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม การสร้างประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นและชุมชนต่อไป
คุณสมบัติกลุ่มองค์กรชุมชน
1. กลุ่มองค์กรชุมชน ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มโฮมสเตย์ กลุ่มท่องเที่ยวชุมชน และกลุ่มอาชีพในชุมชน โดยจะต้องมีการรวมกลุ่มกันจากสมาชิกในชุมชน เพื่อผลิตสินค้า/บริการ เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน
2. เป็นกลุ่มองค์กรชุมชนที่มีความพร้อม และมีศักยภาพที่ต้องการจะยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์/บริการ ให้ดีขึ้นซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของธนาคารออมสินภาคที่ดูแล
3. กลุ่มจะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารออมสิน
4. ความต้องการของชุมชนต้องสอดคล้องกับพันธกิจของธนาคารออมสิน
5. การมีส่วนร่วม ระหว่างชุมชน สถาบันอุดมศึกษา ธนาคารออมสิน และหน่วยงานพันธมิตรในพื้นที่
6. ชุมชนมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากในการเสริมสร้างความเข้มแข็งลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
คุณสมบัตินักศึกษา
1. นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเพื่อชุมชน และมีทัศนคติที่ดีต่อธนาคารออมสิน
2. นักศึกษามีการทำงานเป็นทีม จำนวน 5 - 10 คน/ทีม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้กระบวนการทำงานและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
3. นักศึกษาแต่ละทีมต้องมีความหลากหลายขององค์ความรู้ และนักศึกษาสามารถทำงานร่วมกันจากสาขาวิชาที่ต่างกัน
4. นักศึกษามีการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน
5. นักศึกษาแต่ละทีมจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 ท่าน/ทีม เพื่อให้คำแนะนำในการทำงานอย่างใกล้ชิด
6. นักศึกษาต้องเป็นลูกค้าประเภทใดประเภทหนึ่งของธนาคารออมสิน
ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน
ชื่อ-สกุล นางศิโรรัตน์ เย็นธะทา
E-mail
เบอร์โทร 0872061893
- Hits: 657
โครงการ Business Brotherhood
โครงการ Business Brotherhood
รายละเอียดแผนงาน
เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ระหว่างกิจการขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัยเพื่อทำหน้าที่เร่งการเติบโตทางธุรกิจ (Accelerator) และเป็นการสร้างช่องทางให้กิจการขนาดใหญ่สามารถร่วมมือทางธุรกิจกับธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ได้ ทั้งนี้จะใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งสร้างความรู้ในการดำเนินการ เพื่อพัฒนาบุคลากร นิสิต นักศึกษา ให้มีความพร้อมในการร่วมมือกับภาคเอกชน และใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาศักยภาพของเอกชน
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ไม่จำกัดสาขาวิชา ปริญญา ตรี โท เอก
2. ศิษย์เก่าที่จบการศึกษามาแล้วไม่เกิน 5 ปี
3. ไม่เคยเข้าร่วมโครงการ Business Brotherhood มาก่อน
4. มีไอเดีย/ผลิตภัณฑ์ และมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม
1. ประชาสัมพันธ์เพื่อเปิดรับนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าร่วมโครงการแบบออนไลน์แลออฟไลน์
2. การพัฒนานักศึกษาในด้านการให้ความรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการ
3. กิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาจากบริษัทพี่เลี้ยงขนาดใหญ่โดยมีกิจกรรมที่สนับสนุนจำนวน 5 ด้านเพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ
4. กิจกรรมการนำเสนอแผนธุรกิจแก่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญบริษัทเอกชนขนาดใหญ่
5. การคัดกรองธุรกิจนักศึกษา โดยมีการให้คำปรึกษาจากบริษัทพี่เลี้ยงขนาดใหญ่ เพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์และแผนธุรกิจของตนเอง
6. การนำเสนอแผนธุรกิจ แก่บริษัทพี่เลี้ยงขนาดใหญ่ เพื่อประเมินศักยภาพ และให้ข้อคิดเห็นชี้แนะแนวทางในการพัฒนา พร้อมทั้งการสร้างโอกาสในการร่วมลงทุนให้แก่ธุรกิจของนักศึกษา รวมถึง ช่องทางในการทำการตลาดต่อไปได้
ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน
ชื่อ-สกุล นายชินวัตร เจริญอินทร์
E-mail
เบอร์โทร 065-4919354
- Hits: 695
โครงการ Startup Thailand League
โครงการ Startup Thailand League
รายละเอียดแผนงาน
กิจกรรมให้ความรู้และแนวคิดหลักการเบื้องต้นในการทำธุรกิจ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ นวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงการสร้างเวทีและเปิดโอกาสให้นักศึกษา สามารถต่อยอดแนวความคิดพัฒนาสู่การเป็นวิสาหกิจเริ่มต้นเพื่อเข้าสู่ตลาดในระดับประเทศ
คุณสมบัติผู้สมัคร
1.นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก ทีมละ 3-5 คน ไม่จำกัดคณะ
2. มี Idea การทำธุรกิจ หรือมี Product ในการทำธุรกิจ (พิจารณาเป็นพิเศษ) เน้น Deep Technology
ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการดำเนินกิจกรรม
- ยื่นใบสมัครเข้าร่วมโครงการรับการสัมภาษณ์ข้อมูลเบื้องต้น
- เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมบ่มเพาะเพื่อการพัฒนาแนวคิดสู่ต้นแบบผลิตภัณฑ์
- การนำเสนอแผนธุรกิจต่อคณะกรรมการ
- ประกาศผลการคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับมหาวิทยาลัย
- เข้าร่วมการแข่งขันระดับภูมิภาค
- จัดแสดงผลงาน Prototype ของงาน Startup Thailand League : Demo Day
ข้อมูลติดต่อผู้ดูแลแผนงาน
ชื่อ-สกุล นางบุปผา พึ่งพา
E-mail
เบอร์โทร 089-0068768
- Hits: 551
More Articles …
- โครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup)
- โครงการโปรแกรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเร่งการเป็นผู้ประกอบการจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศ (Experiential Learning Program : ELP)
- โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M)
- แผนงานการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาค (New Regional Startups Platform)
Page 1 of 3