บริการอุทยาน

ห้องปฏิบัติการ (Lab Strengthening Service)

     เป็นการสนับสนุนการทำงานวิจัยและพัฒนาสำหรับภาคอุตสาหกรรม ในการใช้บริการห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจระดับอุตสาหกรรม SMEs และ OTOP มีความพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน โดยมีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระ และห้องปฏิบัติการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง

ศูนย์ออกแบบนวัตกรรม (Innovation Design Center)

     โดยให้บริการ ออกแบบผลิตภัณฑ์  ออกแบบบรรจุภัณฑ์  ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ออกแบบสัญลักษณ์ ออกแบบอื่นๆ (ฉลากบรรจุภัณฑ์) 

ศูนย์บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 

     บริการให้คำปรึกษาด้านจัดการทรัพย์สินทางปัญญา แก่ภาคอุตสาหกรรม (IP for Industry) และนักวิจัย การจดทรัพย์สินทางปัญญา ตราสินค้า และงานวิจัยนวัตกรรม

ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Database on available Science and Technology infrastructure)


     เป็นฐานข้อมูลผ่านทาง website : http://stdb.most.go.th   เพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึง สำรองเวลาใช้งานได้แบบ One stop service ผ่านเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง  สนับสนุนภาคเอกชนโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม

     สำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม มีหน้าที่ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การให้บริการด้านต่างๆของอุทยานวิทยาศาสตร์ สร้างความตระหนัก ประสานความร่วมมือ ให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ ส่งเสริมและสนับสนุน สร้างความสามารถในการแข่งขัน การดำเนินงานของสำนักงานความร่วมมืออุตสาหกรรม เพื่อเชื่อมโยงกับการให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ตลอดจนทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือหรือบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ซึ่งการดำเนินงานในส่วนนี้จะมีการดำเนินกิจกรรมดังนี้
• การประชาสัมพันธ์หรือจัดกิจกรรมหรือรูปแบบอื่นๆ เพื่อสร้างความตระหนักและเผยแพร่ข้อมูลอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ แก่หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการ
• การพัฒนาศักยภาพในด้านการให้บริการความร่วมมืออุตสาหกรรมแก่บุคลากร โดยได้เข้าร่วมการอบรม/สัมมนา และประชุม
• เชื่อมโยงลูกค้าสู่บริการอื่นๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือฯ การเชื่อโยงบริการร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย เชื่อมโยงบริการ ให้คำปรึกษาและประสานงานเพื่อนำไปสู่เชิงพาณิชย์

โครงการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Incubation Platform)

     การบ่มเพาะธุรกิจ เป็นการสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นฐานอย่างเป็นระบบ และครบวงจร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
 

คุณสมบัติ :

     - บุคคลที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

     - นิติบุคคลสัญชาติไทยที่จดทะเบียนมาแล้ว ไม่เกิน 5 ปี

     - ทายาทธุรกิจที่ต้องการจัดทำบริษัทจัดตั้งใหม่ (Start-up company) หรือต้องการขยายธุรกิจแยกจากธุรกิจเดิม (Spin-off  company) และยังขาดความเข้มแข็งทางด้านการประกอบธุรกิจหรือมีความต้องการที่ปรึกษาธุรกิจ

     - ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติจากคณะกรรมการที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือแต่งตั้ง

 

เงื่อนไขการดำเนินโครงการ :

     1. ต้องดำเนินธุรกิจได้ด้วยตัวเอง (Graduate/Spin-off) และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลภายใน 2-3 ปี

     2. ระหว่างการเข้าร่วมโครงการต้องเข้าร่วมกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ

     3. มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น

โครงการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ (Industrial Research and Technology Capacity Develoment Program : IRTC)

     การส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเข้าไปทำให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การจับคู่นวัตกรรมในรูปแบบของการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค ปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล รวมถึงการฝึกอบรม การเสาะหาเทคโนโลยีจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าสู่การแข่งขันในตลาดการค้าสากลได้อย่างเข้มแข็ง ตลอดจนการเข้าถึงการให้บริการทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเต็มรูปแบบ

 

คุณสมบัติ :

     - นิติบุคคลตามกฎหมายไทย เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ SME ที่จดทะเบียนในประเทศไทย

     - มีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51

     - มีความพร้อมทางด้านบุคลากร การเงิน และการจัดการระดับหนึ่งที่จะดำเนินโครงการ

 

เงื่อนไขการดำเนินโครงการ :

     1. ระยะเวลาในการดำเนินการ 1 ปี

     2. ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะมีศักยภาพด้านการทำวิจัยสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเข้ามาใช้บริการอุทยานวิทยาศาสตร์

     3. ภาคเอกชนต้องสนับสนุนเงินทุนและทรัพยากรที่จำเป็น คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการ

 

 

โครงการวิจัยร่วมกับเอกชน (Collaborative Research Platform : Co-Research)

     เน้นการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนาระหว่างภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐ และสถาบันการศึกษาในการพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมทั้งกระบวนการผลิตใหม่ให้แก่ภาคเอกชน

 

คุณสมบัติ :

     ผู้ประกอบการ SMEs และ SML


เงื่อนไขการดำเนินโครงการ :

1. ระยะเวลาในการดำเนินการ 6 เดือน - 1 ปี

2. ทำวิจัย R&D ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่กระบวนการผลิตใหม่ เทคโนโลยีใหม่

3. โครงการเกิดผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการด้านเศรษฐกิจในระดับสูง และเกิดผลกระทบเชิงบวกต่อประชาชนในวงกว้าง

หลักการสนับสนุนงบประมาณและแนวทางดำเนินงาน แผนงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน (Co-Research)

1. อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคให้งบสนับสนุนให้กับโครงการที่ผ่านการคัดเลือก ไม่จำกัดงบประมาณ โดยสนับสนุนไม่เกินร้อยละ 40 ของมูลค่าโครงการทั้งหมด (มูลค่าโครงการต้องมากกว่า 1,000,000 บาทขึ้นไป) โดยภาคเอกชนร่วมลงทุนวิจัยตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป ในรูปแบบของ in-kind หรือin-cash  โดยดำเนินการตามระเบียบของแต่ละมหาวิทยาลัย

2. อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคส่งรายงานความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการให้กับสอว. และทำการบันทึกข้อมูลการดำเนินงานในรูปแบบ Project-based management ในทุกเดือน

3. อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคดำเนินการประเมินโครงการหลังจากสิ้นสุดการวิจัยตามหลักเกณฑ์ของแต่ละอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเป็นผู้กำหนด

4. อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคส่งผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ให้กับ สอว.

โครงการ Startup Thailand League 

     เป็นกิจกรรมประกวดโมเดลธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup business model) สำหรับนักศึกษาที่มีแนวความคิดในการเป็นผู้ประกอบการและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเอง ให้เป็นวิสาหกิจเริ่มต้น โดยธุรกิจสตาร์ทอัพสามารถแบ่งออกได้เป็น 9 กลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้

1) ด้านเกษตรและอาหาร

2) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

3) ด้านการเงิน และการธนาคาร

4) ด้านอุตสาหกรรม 

5) ด้านการท่องเที่ยว

6) ด้านไลฟ์สไตล์

7) ด้านพาณิชยกรรมอิเล็กทรอนิกส์

8) ด้านภาครัฐ/การศึกษา

9) ด้านอสังหาริมทรัพย์

ซึ่งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ร่วมจัดกิจกรรมในปี 2560 โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขั้นตอนการดำเนินโครงการมี ดังนี้

     1. รับสมัครทีมนักศึกษา (สหสาขา) ทีมละ 3-5 คน ที่มีแนวความคิดในการเป็นผู้ประกอบการหรืออยากทำธุรกิจที่ตนเองสนใจ

     2. เข้าร่วมอบรมชี้แจงโครงการ รายละเอียดเกณฑ์การแข่งขัน และการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบโมเดลธุรกิจ

(Business Model Canvas)

     3. คัดเลือกทีมนักศึกษาที่มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และมีนวัตกรรมที่น่าสนใจเพื่อพัฒนา Prototype แข่งขันระดับประเทศ

     4. เข้าร่วมการแข่งขัน Startup Thailand League

     5. จัดนิทรรศกา่ร DEMO DAY