เกี่ยวกับเรา
สารจากผู้บริหาร
พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างเป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรหลากหลายซึ่งมีศักยภาพในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยปัจจุบันมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ทำการผลิตและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพในการแข่งขันโดยอยู่บนพื้นฐาน ของการเพิ่มคุณภาพบนแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ การบริหารงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จะเน้นรูปแบบความร่วมมือที่มหาวิทยาลัยเป็นเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ดำเนินงานในการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบที่ได้มาตรฐาน ISO/IEC 17025 และให้คำปรึกษา พัฒนาธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ โดยนำงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยลงสู่เชิงพาณิชย์เพื่อพัฒนาศักยภาพและตอบสนองต่อผู้ประกอบการในท้องถิ่นที่สามารถเข้ามารับคำปรึกษา บ่มเพาะธุรกิจหรือการบริการสิ่งอำนวยความสะดวก วิเคราะห์วิจัยให้กับผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจในพื้นที่เกี่ยวข้องต่อไป
ประวัติความเป็นมา
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยทำงานภายใต้เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ 7 มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่ในการให้บริการด้านการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริมผู้ประกอบการในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาขีดความสามารถให้มีศักยภาพด้านการแข่งขันทางธุรกิจทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ โดยมีการบริหารจัดการให้เกิดการเชื่อมโยงหน่วยงานวิจัยเอกชน สถาบันวิจัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงงานวิจัยกับความต้องการของตลาด ด้วยการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยีและการจับคู่ธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยี โดยผ่านกระบวนการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อทำให้เกิดธุรกิจนวัตกรรม ซึ่งเป็นฐานการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ให้มีความพร้อมทั้งในด้านองค์ความรู้ อุปกรณ์และเครื่องมือ การบริหารงาน การตลาด งานวิจัย ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญอาจารย์นักวิจัย พร้อมทั้งยังมีบทบาทในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มมูลค่า (value add) ให้กับสินค้าและบริการ
2. เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาขีดความสามารถ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ
3. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการ ให้เข้มแข็งสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
4. เพื่อเป็นแหล่งพัฒนาผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ (Technology commercialization) รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถต่อยอดเพิ่มเติมในเชิงธุรกิจได้
ปรัชญา
มุ่งมั่นให้บริการ สร้างสรรค์ผลงาน สนับสนุนการใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ จัดการทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาสู่เชิงพาณิชย์
วิสัยทัศน์
เป็นพลังงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
เป้าหมาย
- มีโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานสากลในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ยั่งยืน
- มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาทำความร่วมมือและใช้บริการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่างอย่างต่อเนื่อง
- มีผลการวิจัยและพัฒนาหรือนวัตกรรมที่เป็นการสร้างเสริมศักยภาพการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นรูปธรรมและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
- มีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
- สามารถรองรับและพัฒนานักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
โครงสร้างการบริหาร












